นึกถึง พันธุกรรม ต้องนึกถึง 3 อย่างนี้!!!

เมื่อพูดถึงคำว่า “พันธุกรรม” 3 สิ่งที่ขาดไม่ได้และมักได้ยินเสมอ ก็คือ โครโมโซม ยีน และดีเอ็นเอ ทั้งสามสิ่งนี้คืออะไรมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลย

Screen Shot 2016-02-07 at 8.30.46 PMโครโมโซม (Chromosome) คือ องค์ประกอบสคัญที่อยู่ภายในนิวเคลียสของเซลล์ทุกเซลล์ โครโมโซมเป็นที่อยู่ของหน่วยพันธุกรรม ซึ่งทหน้าที่ควบคุมและถ่ายทอดข้อมูลลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ตามปกติแล้วโครโมโซมจะมีรูปร่างอิสระประกอบด้วยสายดีเอ็นเอ และ โปรตีนที่เกี่ยวข้อง พันกันไปมาภายในนิวเคลียส แต่ที่เราคุ้นเคยกันว่าแท่งโครโมโซมมีหน้าตาคล้ายปาท่องโก๋ ก็เพราะเป็นจังหวะการแบ่งตัวในระยะเมตาเฟส (Metaphase) ที่มองเห็นผ่านกล้องจุลทรรศน์ได้ชัดเจนที่สุด มีจนวน 23 คู่ หรือ 46 ชิ้น

Screen Shot 2016-02-07 at 8.30.39 PM

ยีน (Gene) คือ หน่วยพันธุกรรม ซึ่งทหน้าที่เป็น พิมพ์เขียวในการสร้างโปรตีนที่กำหนดการทำงานของเซลล์และควบคุมลักษณะต่างๆของร่างกาย ตามปกติแล้วยีนจะจับตัวทงานร่วมกันเป็นคู่ โดยมนุษย์ต้องได้รับยีนจากพ่อและแม่อย่างละชุด จึงจะสามารถถ่ายทอดลักษณะต่างๆสู่ลูกได้ ในร่างกายมนุษย์หนึ่งคนจะมียีนอยู่ราว 24,000 ยีน

ดีเอ็นเอ (DNA: Deoxyribonucleic Acid) คือ ลดับเบสหรือสารพันธุกรรมที่เป็นกรดนิวคลีอิก พบได้ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดตั้งแต่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างมนุษย์ไปจนกระทั่งสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างไวรัส

ดีเอ็นเอ ทหน้าที่บรรจุข้อมูลทางพันธุกรรมเพื่อส่งผ่านไปยังรุ่นลูกหลาน ดีเอ็นเอมีรูปร่างคล้ายบันไดลิงที่บิดเป็นเกลียวโดยที่ขาของบันไดแต่ละข้างจะมีโมเลกุลที่ประกอบไปด้วยน้ำตาลและฟอสเฟต หรือที่เรียกว่านิวคลีโอไทด์ เกาะอยู่ นิวคลีโอไทด์มีอยู่ 4 ชนิด แทนด้วยอักษร A T G และ C

การเกาะตัวเรียงลดับของนิวคลีโอไทด์ นี่เองที่ทให้เกิดข้อมูลทางพันธุกรรมที่แตกต่างกันไปเรียกว่า รหัสพันธุกรรมหรือ รหัสชีวิตนั่นเอง

สรุปง่ายๆ ก็คือ หากเปรียบร่างกายของเราเป็นห้องสมุด โครโมโซม ก็คือสารานุกรมเล่มใหญ่จำนวน 46 เล่มที่บรรจุข้อมูลสำคัญไว้มากมายวางเรียงอยู่บนชั้นหนังสือ โดยมียีน ทำหน้าที่เป็นกระดาษแต่ละหน้า สำหรับบรรจุเรื่องราวต่างๆในเล่ม ส่วนดีเอ็นเอ คือตัวอักษรที่ถูกถ่ายทอดเป็นเรื่องราวอยู่บนหน้ากระดาษนั่นเอง

การตรวจหาโรคพันธุกรรม โดยการตรวจ ดีเอ็นเอโดยตรง จึงเป็นวินิจฉัยโรคที่ต้นตอของสาเหตุ และสามารถตรวจสอบโรคได้ ชัดเจนที่สุด